เคล็ดลับการทำธุรกิจสำหรับมือใหม่
การเริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ เป็นอะไรที่ยากลำบาก
มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะการันตีได้ว่าต่อไปกิจการของเราจะไปต่อได้หรือไม่ เพราะไม่สำคัญว่าสินค้าของคุณจะดีแค่ไหน แต่ก็ต้องศึกษาทั้งการตลาด คู่แข่ง และกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ถ้าหากสินค้าดีแต่โปรโมทผิดจุด หรือเจาะไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย เม็ดเงินที่ลงทุนไปก็จะศูนย์เปล่า หรือมือใหม่ที่คิดจะออกงานจากเพื่อมาเป็นเจ้าของธุรกิจ ที่อยากจะออกจาก comfort zone มาเพื่อประสบผลสำเร็จในชีวิต อาจจะต้องศึกษาให้ดีก่อนที่จะเริ่มต้นใหม่ๆ
หาสิ่งที่ชอบ แล้วลงมือทำ
สำหรับมือใหม่ที่คิดจะทำธุรกิจ ก็ต้องเริ่มต้นจากการมองหาอาชีพจากสิ่งที่เราชอบเป็นอันดับแรก ข้อนี้อาจฟังดูแล้วเหมือนจะง่าย แต่ในความเป็นจริงมักมีความยากมันอยู่ที่สิ่งที่เราชอบเสมอ เพราะเมื่อผลิตออกมาแล้วจะมีคนสนใจหรือเปล่า หรือจะมีคนใช้บริการหรือไม่? เพราะเหตุนี้ทำให้ความคิดดังกล่าวของผู้คนอาจจะล้มเลิกแผนธุรกิจที่จะเริ่มจากสิ่งที่เราชอบไปอย่างน่าเสียดาย ส่วนมากมือใหม่จะเริ่มทำธุรกิจอะไรถึงมีโอกาสประสบความสำเร็จ ก็ต้องเริ่มจากสิ่งที่ชอบ เราจะทำมันได้นาน และไม่เหนื่อยใจง่าย ๆ ในทางกลับกัน หากเราทำธุรกิจจากสิ่งที่เราไม่ชอบ แต่เราอยากได้เงิน เมื่อมีอุปสรรคเข้ามาทักทายเราจะท้อแบบง่าย ๆ และจะทำมันอย่างทุกข์ทรมาน ผมยังคงเชื่อมั่นในการเริ่มต้นกิจการส่วนตัวจากสิ่งที่ชอบ เริ่มจากข้างใน ลองมองหากันดูครับ
ชูจุดเด่นให้น่าซื้อ
ในอดีตที่ผ่านมาการผลิตสินค้าและบริการนั้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะมองหาจุดขายของสินค้า แต่การคิดแบบนี้เป็นเรื่องที่รู้กันอยู่แล้วว่าหากมือใหม่ที่กำลังตัดสินใจว่าจะทำธุรกิจอะไร และธุรกิจของเราจะใช่ที่สุดหรือไม่ ให้ลองคิดกลับกันดูนะคะ แทนที่จะมองหาจุดขาย ให้ลองมองหาจุดที่จะสามารถดึงดูให้ผู้บริโภคมาซื้อดูบ้าง จุดซื้อที่ว่าก็คือ จุดที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้า และแน่นอนที่สุดว่าการที่เราจะเข้าถึงจุดนั้นได้ลูกค้าจะต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรมในสังคมของผู้บริโภค ลองสังเกตให้ลึกลงไปว่าลูกค้าซื้อสินค้าด้วยสาเหตุใด ต้องวิเคราะห์ Supply and Demand ว่าอะไรเป็นแรงจูงใจที่ทำให้ลูกค้าคิดว่าสินค้าชิ้นนี้ต้องซื้อไม่ซื้อไม่ได้ ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ สังเกต และมองหาดูนะครับ รับรองว่าคุ้มค่าแน่นอน
วางแผนการตลาดในอนาคต
การวางแผนเป็นเรื่องสำคัญ เราควรมองไปถึงช่องทางการทำธุรกิจต่อไปข้างหน้า โดยอาจจะวางแผนไปทีละขั้น อย่างเช่นอาจจะวางไว้เผื่ออนคตทีละไตรมาสก็ยังดี และควรมองหาช่องทางสำรองเอาไว้เสมอ เผื่อเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่อาจจะรู้ว่าเศรษฐกิจข้างหน้าต่อไปจะเป็นแบบไหน เพราะฉะนั้นแล้ว การมีแผนสำรองเอาไว้ก็เป็นประโยชน์มากกว่า
อย่าคิดแค่ว่า “น้ำขึ้นให้รีบตัก”
เมื่อเป้าหมายในการธุรกิจ กับไอเดียที่เหมาะสมแล้ว และได้ลงมือทำจริง ๆ การประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วถือเป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่หากกลับกันธุรกิจเกิด “ขาดทุน” เพราะมีการวางแผนการเงินที่ไม่ดีพอ หรือวางแผนสภาพคล่องของกิจการเอาไว้ หลายต่อหลายครั้งธุรกิจดี ๆ ต้องล้มหายตายจากไปเพราะขาดสภาพคล่อง ดังนั้น การวางแผนทางการเงินและการใช้เงินกู้ที่ไม่เกินตัวจึงเปรียบเสมือนการระวังหลัง เพราะหากเราวิ่งไปข้างหน้าอย่างเดียว แต่ไม่สนใจข้างหลัง แน่นอนที่สุดว่า เมื่อเราสะดุด มันก็จะล้มดัง เพราะฉะนั้นแล้ว ผู้ประกอบการควรมีแผนสำรอง หรือมีการวางแผนในอนาคต ทั้งสั้นทั้งยาว ทิ้งไว้
ทุกอย่างมันยากที่การเริ่มเสมอ
การเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญ เพราะเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จต่อธุรกิจของเราได้ว่าจะการันตีว่าอานาคตจะไปต่อได้หรือไม่ รวมถึงองค์ประกอบของการบริหารธุรกิจ วางแผนการตลาด การเงิน ที่ต้องมีการจัดการที่รอบคอบ เพื่อต่อยอดธุรกิจให้ประสบความสำเร็จทั้งหมดนี้ไม่ใช่สูตรตายตัว หากเป็นการแนะแนวให้สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ได้ลองพิจารณาเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจในแต่ละประเภท