เตรียมไฟล์งาน Artwork แบบไหนเหมาะสำหรับส่งโรงพิมพ์
เชื่อได้เลยว่า หลายคนคงจะเคยเจอประสบการณ์ที่เรา save file ไปให้โรงพิมพ์แบบผิด จนทำให้ต้องวุ่นวาย หรือเสียเวลากับการแก้ไข วันนี้จะมาดูกันว่า ไฟล์งานในวงการของการพิมพ์การออกแบบนั้น มีกี่ประเภท มีแบบไหน และไฟล์แต่ละชนิด ควรจะ save ให้เป็นนามสกุลอะไร
โดยทั่วไปแล้วงานของกราฟิก จะเป็นงานที่มีประเภทของไฟล์ให้บันทึกงานหลายแบบ ซึ่งปัจจัยที่ควรดูให้เป็นพิเศษเพราะ หากบันทึกไฟล์มาผิดประเภทแล้วนั้น ก็จะทำให้ส่งผลกระทบอย่างมาก แต่สำหรับมือใหม่นั้นจำเป็นจะต้องศึกษาให้ดีก่อนว่า แต่ละไฟล์นั้นในการออกแบบกราฟิกจะต้องเจอกับไฟล์งานชนิดต่างๆ หลากหลายโปรแกรม มาดูกันว่ามีไฟล์งานแบบไหนกันบ้าง
4 ไฟล์งาน Artwork ที่เหมาะกับส่งให้โรงพิมพ์
ไฟล์ AI (.AI)
เป็นไฟล์ตั้งต้นมาจากโปรแกรมของ adobe illustrator ที่นักออกแบบหลายคนมักจะเรียกว่าไฟล์ AI ที่ใช้ในการออกแบบ ซึ่งการบันทึกเป็นไฟล์นี้ไปให้กับโรงพิมพ์ ก็จะเป็นเรื่องดีกับทั้งสองฝ่าย เพราะทางโรงพิมพ์ก็จะสามารถเปิดไฟล์ AI มาแก้ไขในส่วนที่ต้องปรับขนาด แก้ไขอาร์ตเวิร์ค ขอบตัดตกหรือข้อมูลได้ทันที
สิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบก่อนส่งไฟล์ AI ให้กับโรงพิมพ์
- ไฟล์งานพิมพ์ทุกไฟล์ควรตั้ง Color Mode เป็น CMYK เท่านั้น
- ตั้งความละเอียดของไฟล์ Resolution เป็น (300 PPI หรือ DPI)
- ระยะขอบ (Margin) และระยะตัดตก (Bleed)
- ฟอนต์ ตัวอักษร ต้องครีเอทฟอนต์ (Create Outlines)
- ฝังไฟล์รูปภาพ
ไฟล์ PSD
ไฟล์งานนี้เป็นการบันทึกมาจากโปรแกรม Adobe Photoshop ที่เป็นตระกูลเดียวกับ illustrator โดยส่วนมากนิยมนำมาใช้กับการตกแต่งรูปในวงการถ่ายภาพ ช่างภาพ ซึ่งไฟล์นามสกุลนี้จะมีจุดอ่อนอยู่ที่ไม่สามารถขยายไฟล์ให้ใหญ่ได้ เหมือนกับ ไฟล์ AI
สิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบก่อนส่งไฟล์ PSD ให้กับโรงพิมพ์
- ไฟล์งานพิมพ์ทุกไฟล์ควรตั้ง Color Mode เป็น CMYK เท่านั้น
- ตั้งความละเอียดของไฟล์ Resolution เป็น (300 PPI หรือ DPI)
- ระยะขอบ (Margin) และระยะตัดตก (Bleed)
- ฟอนต์ ตัวอักษร ต้องแปลงฟอนต์เป็น Object
(Convert to Shape)
ไฟล์ PDF
ไฟล์ PDF เป็นเหมือนไฟล์ที่อยู่กับเรามาตั้งแต่สมัยเรียน เป็นนิยมนำมาใช้งานกันมาก เป็นไฟล์ที่เมื่อบันทึกแล้วจะไม่สามารถขยับได้เพราะเมื่อเวลานำไปปริ้นแล้ว ตัวอักษรหรือการจัดวางหน้า ก็จะไม่คลาดเคลือน
แต่สำหรับวงการงานพิมพ์ จุดประสงค์ของไฟล์นี้คือ ใช้เปิดแทนไฟล์ AI ได้ทำให้ไฟล์งานไม่หนัก ตัวอักษรหรือการจัดวางหน้าก็จะไม่คลาดเคลือน เป็นไฟล์พร้อมผลิตที่จะไม่แก้ไขอะไรแล้ว
สิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบก่อนส่งไฟล์ PDF ให้กับโรงพิมพ์
- ไฟล์ PDF เป็นไฟล์ที่ Export หรือ Save As จากโปรแกรม AI
- ไฟล์งานพิมพ์ทุกไฟล์ควรตั้ง Color Mode เป็น CMYK เท่านั้น
- ตั้งความละเอียดของไฟล์ Resolution เป็น (300 PPI หรือ DPI)
- ระยะขอบ (Margin) และระยะตัดตก (Bleed)
- ฟอนต์ ตัวอักษร ต้องครีเอทฟอนต์ (Create Outlines)
- ฝังไฟล์รูปภาพ
ไฟล์ EPS
ไฟล์ EPS เป็นการย่อมาจาก Encapsulated PostScript โดยส่วนมากจะใช้สำหรับโปรแกรมเพื่อวาดแอปพลิเคชันไว้ใช้อธิบายวิธีการผลิตภาพวาดหรือใช้เป็นเค้าโครง สำหรับส่งไฟล์งาน และยังมีประโยชน์ในส่วนของข้อความ กับกราฟิก และการออกแบบ ดีไซน์ภายในงานต่างๆ เพื่ออธิบายขนาดของแบบภาพเวกเตอร์ที่แสดงผลออกมาผ่านหน้าจอ เป็นภาพตัวอย่างที่เรียกว่า encapsulated
สิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบก่อนส่งไฟล์ EPS ให้กับโรงพิมพ์
- ไฟล์งานพิมพ์ทุกไฟล์ควรตั้ง Color Mode เป็น CMYK เท่านั้น
- ตั้งความละเอียดของไฟล์ Resolution เป็น (300 PPI หรือ DPI)
- ระยะขอบ (Margin) และระยะตัดตก (Bleed)
- ฟอนต์ ตัวอักษร ต้องครีเอทฟอนต์ (Create Outlines)
- ฝังไฟล์รูปภาพ