เตรียมไฟล์งาน Artwork แบบไหนเหมาะสำหรับส่งโรงพิมพ์

เตรียมไฟล์งาน Artwork แบบไหนเหมาะสำหรับส่งโรงพิมพ์

เตรียมไฟล์งาน Artwork แบบไหนเหมาะสำหรับส่งโรงพิมพ์

เชื่อได้เลยว่า หลายคนคงจะเคยเจอประสบการณ์ที่เรา save file ไปให้โรงพิมพ์แบบผิด จนทำให้ต้องวุ่นวาย หรือเสียเวลากับการแก้ไข วันนี้จะมาดูกันว่า ไฟล์งานในวงการของการพิมพ์การออกแบบนั้น มีกี่ประเภท มีแบบไหน และไฟล์แต่ละชนิด ควรจะ save ให้เป็นนามสกุลอะไร 

โดยทั่วไปแล้วงานของกราฟิก จะเป็นงานที่มีประเภทของไฟล์ให้บันทึกงานหลายแบบ ซึ่งปัจจัยที่ควรดูให้เป็นพิเศษเพราะ หากบันทึกไฟล์มาผิดประเภทแล้วนั้น ก็จะทำให้ส่งผลกระทบอย่างมาก แต่สำหรับมือใหม่นั้นจำเป็นจะต้องศึกษาให้ดีก่อนว่า แต่ละไฟล์นั้นในการออกแบบกราฟิกจะต้องเจอกับไฟล์งานชนิดต่างๆ หลากหลายโปรแกรม มาดูกันว่ามีไฟล์งานแบบไหนกันบ้าง

4 ไฟล์งาน Artwork ที่เหมาะกับส่งให้โรงพิมพ์

ไฟล์ AI (.AI)

เตรียมไฟล์งาน Artwork AI

เป็นไฟล์ตั้งต้นมาจากโปรแกรมของ adobe illustrator ที่นักออกแบบหลายคนมักจะเรียกว่าไฟล์ AI ที่ใช้ในการออกแบบ ซึ่งการบันทึกเป็นไฟล์นี้ไปให้กับโรงพิมพ์ ก็จะเป็นเรื่องดีกับทั้งสองฝ่าย เพราะทางโรงพิมพ์ก็จะสามารถเปิดไฟล์ AI มาแก้ไขในส่วนที่ต้องปรับขนาด แก้ไขอาร์ตเวิร์ค ขอบตัดตกหรือข้อมูลได้ทันที

สิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบก่อนส่งไฟล์ AI ให้กับโรงพิมพ์

  • ไฟล์งานพิมพ์ทุกไฟล์ควรตั้ง Color Mode เป็น CMYK เท่านั้น
  • ตั้งความละเอียดของไฟล์ Resolution เป็น (300 PPI หรือ DPI)
  • ระยะขอบ (Margin) และระยะตัดตก (Bleed)
  • ฟอนต์ ตัวอักษร ต้องครีเอทฟอนต์ (Create Outlines)
  • ฝังไฟล์รูปภาพ

ไฟล์ PSD

เตรียมไฟล์งาน Artwork PSD

ไฟล์งานนี้เป็นการบันทึกมาจากโปรแกรม Adobe Photoshop ที่เป็นตระกูลเดียวกับ illustrator  โดยส่วนมากนิยมนำมาใช้กับการตกแต่งรูปในวงการถ่ายภาพ ช่างภาพ  ซึ่งไฟล์นามสกุลนี้จะมีจุดอ่อนอยู่ที่ไม่สามารถขยายไฟล์ให้ใหญ่ได้ เหมือนกับ ไฟล์ AI

สิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบก่อนส่งไฟล์ PSD ให้กับโรงพิมพ์

  • ไฟล์งานพิมพ์ทุกไฟล์ควรตั้ง Color Mode เป็น CMYK เท่านั้น
  • ตั้งความละเอียดของไฟล์ Resolution เป็น (300 PPI หรือ DPI)
  • ระยะขอบ (Margin) และระยะตัดตก (Bleed)
  • ฟอนต์ ตัวอักษร ต้องแปลงฟอนต์เป็น Object

(Convert to Shape)

ไฟล์ PDF

เตรียมไฟล์งาน Artwork PDF

ไฟล์ PDF เป็นเหมือนไฟล์ที่อยู่กับเรามาตั้งแต่สมัยเรียน เป็นนิยมนำมาใช้งานกันมาก เป็นไฟล์ที่เมื่อบันทึกแล้วจะไม่สามารถขยับได้เพราะเมื่อเวลานำไปปริ้นแล้ว ตัวอักษรหรือการจัดวางหน้า ก็จะไม่คลาดเคลือน
แต่สำหรับวงการงานพิมพ์ จุดประสงค์ของไฟล์นี้คือ ใช้เปิดแทนไฟล์ AI ได้ทำให้ไฟล์งานไม่หนัก ตัวอักษรหรือการจัดวางหน้าก็จะไม่คลาดเคลือน เป็นไฟล์พร้อมผลิตที่จะไม่แก้ไขอะไรแล้ว

สิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบก่อนส่งไฟล์ PDF ให้กับโรงพิมพ์

  • ไฟล์ PDF เป็นไฟล์ที่ Export หรือ Save As จากโปรแกรม AI
  • ไฟล์งานพิมพ์ทุกไฟล์ควรตั้ง Color Mode เป็น CMYK เท่านั้น
  • ตั้งความละเอียดของไฟล์ Resolution เป็น (300 PPI หรือ DPI)
  • ระยะขอบ (Margin) และระยะตัดตก (Bleed)
  • ฟอนต์ ตัวอักษร ต้องครีเอทฟอนต์ (Create Outlines)
  • ฝังไฟล์รูปภาพ

ไฟล์ EPS

เตรียมไฟล์งาน Artwork EPS

ไฟล์ EPS เป็นการย่อมาจาก Encapsulated PostScript โดยส่วนมากจะใช้สำหรับโปรแกรมเพื่อวาดแอปพลิเคชันไว้ใช้อธิบายวิธีการผลิตภาพวาดหรือใช้เป็นเค้าโครง สำหรับส่งไฟล์งาน และยังมีประโยชน์ในส่วนของข้อความ กับกราฟิก และการออกแบบ ดีไซน์ภายในงานต่างๆ เพื่ออธิบายขนาดของแบบภาพเวกเตอร์ที่แสดงผลออกมาผ่านหน้าจอ เป็นภาพตัวอย่างที่เรียกว่า encapsulated

สิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบก่อนส่งไฟล์ EPS ให้กับโรงพิมพ์

  • ไฟล์งานพิมพ์ทุกไฟล์ควรตั้ง Color Mode เป็น CMYK เท่านั้น
  • ตั้งความละเอียดของไฟล์ Resolution เป็น (300 PPI หรือ DPI)
  • ระยะขอบ (Margin) และระยะตัดตก (Bleed)
  • ฟอนต์ ตัวอักษร ต้องครีเอทฟอนต์ (Create Outlines)
  • ฝังไฟล์รูปภาพ